
โรคข้อเข่าเสื่อม
เป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ โดยมักพบในผู้ที่มีอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมาก หากไม่ได้รับการรักษา หรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม อาจทำให้มีความเจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ไม่สะดวก หรือในกรณีรุนแรงอาจไม่สามารถเดินได้ ซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจาก
การที่ข้อต่อต้องเคลื่อนไหวและรับน้ำหนักต่อเนื่องสะสมเป็นเวลานาน อันเป็นผลมาจากอุบัติเหตุ การใช้งานหนัก หรือภาวะสูงวัย ซึ่งไม่รวมข้อเข่าเสื่อมจากโรคโดยเฉพาะ
เช่น โรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ ทำให้เกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อ เกิดเป็นความขรุขระ ไม่เรียบของผิวกระดูกอ่อน อาการอักเสบ บวม แดง ร้อน เกิดอาการเจ็บข้อ และเคลื่อนไหวติดขัด หรือกรณีรุนแรงอาจไม่สามารถเดินได้
ข้อเข่าเสื่อมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. ตามลักษณะการเกิดคือ ตามวัย ซึ่งสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัว เพศหญิง และกรรมพันธุ์
2. ความเสื่อมแบบทุติยภูมิ เป็นความเสื่อมที่ทราบสาเหตุ เช่น เคยประสบอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บที่ข้อและเส้นเอ็น การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่า จากการทำงานหรือเล่นกีฬา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ เป็นต้น อาการแสดงในระยะแรก เริ่มปวดเข่าเมื่อเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่า อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อ มีอาการข้อฝืดขัด โดยเฉพาะเมื่อหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลานานแล้วเริ่มขยับข้อ จะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ ขาดความยืดหยุ่น หากมีภาวะข้อเสื่อมรุนแรง อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้น เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด มีอาการบวม เข่าหลวมทำให้เดินล้มบ่อย มีเสียงดังกรอบแกรบในเข่าซึ่งเกิดจากการเสียดสี กล้ามเนื้อต้นขาลีบ เข่ามีรูปร่างผิดปกติ โก่งงอผิดรูป หรือบิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบาก รวมทั้งมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับ การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม แพทย์จะประเมินจากประวัติความเจ็บป่วย และตรวจร่างกายโดยแพทย์ ร่วมกับภาพถ่ายรังสี ซึ่งสามารถบอกความรุนแรงของโรคได้
วิธีการดูแลรักษา การดูแลรักษาโรคเข่าเสื่อม
มีเป้าหมายเพื่อลดอาการปวดข้อเข่า ชะลอการดำเนินโรค ฟื้นฟูการทำงานของข้อเข่า และป้องกันภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด โดยมีวิธีการที่สำคัญได้แก่
1. การลดน้ำหนักตัว ภาวะน้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมและชำรุดได้รุนแรง บางคนเมื่อลดน้ำหนักตัวลงมาเป็นปกติ อาการปวดข้อก็จะหายไป
2. การบำรุงกระดูกและผิวข้อให้เรียบเพื่อลดการอักเสบ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น Calcium L-Threonate เป็นแคลเซียมที่สามารถดูดซึมได้ดีที่สุดโดยไม่ต้องอาศัยวิตามินดีในการดูดซึม เพื่อช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรงขึ้น การรับประทานคอลลาเจนชนิดที่ 2 ( Collagen Type II : UC-II) กลูโคซามีน (Glucosamin) กรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic Acid) ช่วยลดการอักเสบและลดการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนผิวข้ออันเป็นสาเหตุของการปวดข้อ ช่วยเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงข้อ บำรุงกล้ามเนื้อและเอ็นที่ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้สะดวก
3. การได้รับแร่ธาตุที่เกี่ยวกับการซ่อมแซมกระดูก แร่ธาตุที่เกี่ยวกับการซ่อมแซมกระดูก ได้แก่ แคลเซียมและแมกนีเซียม ต้องอาศัย “วิตามินซี” ช่วยในการดูดซึม ซึ่งวิตามินซีนอกจากช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุแล้ว ยังช่วยในการสร้างคอลลาเจนในกระดูกและกระดูกอ่อนทั้งในข้อเข่าและข้อต่าง ๆ
4. การบำรุงผิวข้อและความยืดหยุ่นของร่างกายทุกส่วน ในการบำรุงผิวข้อและความยืดหยุ่นของร่างกายทุกส่วน ต้องอาศัย “คอลลาเจน” เพื่อช่วยซ่อมแซมกระดูกและข้อให้กลับมามีสภาพปกติ ทั้งยังเสริมสร้างความยืดหยุ่นที่กล้ามเนื้อและผิวหนังอีกด้วย
ทั้งนี้เราควรหลีกเลี่ยงการใช้ข้อเข่ามากเกินความจำเป็นและการปรับอิริยาบถในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม เช่น การนั่งเก้าอี้เตี้ยแทนการนั่งยอง ๆ การนั่งเก้าอี้สูงแทนการยืนเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ ขึ้นลงบันไดหลายขั้นโดยไม่จำเป็น หรือการยกหรือแบกของหนัก และสิ่งสำคัญที่สุดคือ การเน้นการออกกำลังกายและการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ โดยเลือกให้เหมาะสมกับวัย สำหรับผู้ที่มีอายุวัยกลางคนขึ้นไปซึ่งเริ่มเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ควรออกกำลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนักที่ข้อเข่ามากกว่าปกติ แต่ยังสามารถเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าได้ เช่น การปั่นจักรยานอยู่กับที่ การว่ายน้ำ การรำมวยจีน การเดิน หรือถ้าเป็นการเต้นแอโรบิก ก็ควรเป็นท่าเต้นที่ไม่มีการกระโดด หรือก้าว-ขึ้นลงบันได (step) ร่วมด้วย เป็นต้น ส่วนผู้ที่อยู่ในระยะมีอาการปวดควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องกระโดด เช่น วิ่ง หรือเล่นเทนนิส