
แอน วิกมอร์ (Ann Wigmore) ผู้ก่อตั้งสถาบันสุขภาพธิปโปคราตีส (Hippocrates Health Institute) เรียกต้นอ่อนข้าวสาลีว่าเป็น เลือดของตันไม้ (Blood of the Plant) เพราะมีโครงสร้างโมเลกุลใกล้เคียงกับโมเลกุลของเฮโมโกลบินในเลือดมนุษย์มาก แตกต่างกันเพียงเรื่องเดียวคือมีแมกนีเซียม นอกจากนี้เลือดยังมีความเป็นต่างเล็กน้อยเช่นเดียวกันกับตันอ่อนข้าวสาลีด้วย ค่า pH ของโมเลกุลเลือดและตันอ่อนข้าวสาลีคือ 7.4 หรือเป็นต่าง ต้นอ่อนข้าวสาลีเมื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจึงมีประสิทธิภาพในการล้างสารพิษในตับและเลือด เพิ่มออกซิเจนให้แก่เซลล์ในร่างกายได้
สารอาหารที่พบในต้นอ่อนข้าวสาลีประกอบด้วยคลอโรฟิลล์ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นยังพบวิตามินเอ วิตามินชี วิตามินอี และแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น เหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม และกรดแอมิโนกว่า 17 ชนิด แอน "วิกมอร์ (Ann Wigmore) แห่งมูลนิซิแอน วิกมอร์ (The Ann Wigmore Foundation) เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอมริกา เคยมีพฤติกรรมการกินไม่ถูกต้อง คือ ซอบของหวาน เน้นมัน เค็ม และเนื้อสัตว์ พออายุได้ 50 ปีจึงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ขั้นสุดท้าย ผลการตรวจบอกว่าเธอจะมีชีวิตอยู่ได้อีกแค่ไม่เกิน 6 เดือน
วิกมอร์จึงพยายามทบทวนความรู้จากย่าของเธอที่เคยเป็นหมอรักษาทหารสมัยสงดรามโลกครั้งที่ 1 ด้วยการใช้สมุนไพร และพบว่าการดื่มน้ำต้นอ่อนข้าวสาลีคั้นสด ๆ สามารถพื้นฟูสุขภาพได้ ไม่เพียงเท่านั้นเธอยังพบว่า เมื่อราว 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชก็มีการบันทึกเรื่องราวความมหัศจรรย์ของการดื่มน้ำต้นอ่อนข้าวสาลีคั้นสด ๆ ไว้เช่นกัน เรื่องมีอยู่ว่า จักรพรรดิจีนพระองค์หนึ่งประชวรมานาน ไม่ว่าจะทรงรับการรักษาด้วยยาขนานใดก็ไม่เป็นผล พระองค์จึงทรงทดลองดื่มน้ำคั้นหญ้าอ่อนติดต่อกันเป็นประจำ ไม่นานนักอาการประชวรก็ทุเลาขึ้น และในที่สุดก็กลับมามีพระพลานามัยแข็งแรงอีกครั้ง
วิกมอร์ใช้การบำบัดด้วยการดื่มน้ำต้นอ่อนข้าวสาสีต้นสด ๆ ไม่เพียงแต่กับตัวเธอเองและคนในครอบครัวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ป่วยอีกนับพันที่ทุกข์ทรมานจากโรคต่าง ๆ ตั้งแต่โรคผื่นคันพุพองธรรมดา ไปจนถึงเนื้องอกและมะเร็ง ระยะหลังวิกมอร์ได้เปิดสถานพยาบาลสำหรับบำบัดผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังในสหรัฐอมริกา ซึ่งผู้ป่วยทุกคนได้รับการรักษาด้วยน้ำต้นอ่อนข้าวสาสีต้นสด ๆ นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำหรับฝึกอบรมแนะนำการเพาะต้นอ่อนข้าวสาสีและการทำน้ำต้นอ่อนข้าวสาลีด้วยตนเองอีกด้วย
ประโยชน์ของน้ำต้นอ่อนข้าวสาลี
น้ำต้นอ่อนข้าวสาลีมีประโยชน์ในการช่วยบรเทาอาการต่าง ๆ ดังนี้
1. โรคที่เกี่ยวข้องกับผิวหนัง
2. โรคหวัดเรื้อรัง
3. ความผิดปกติทางจิตใจและร่างกาย
4. แผลรอยแยก (Fissure)
5. โรคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะ
6. ผมหงอกก่อนวัย
7. โรคนิ่วในไต
8. โรคทางสูตินรีเวช
9. ท้องผูก
10. โรคหอบหืด
11. ความผิดปกติในช่องท้อง
12. อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
13. เบาหวาน
14. โรคเกี่ยวกับหูและตา
15. โรคหัวใจ
16. อาการนอนไม่หลับ
17. กล้ามเนื้อและข้อผิดปกติ
18. ภาวะโลหิตจาง
19. โรคพาร์กินสัน
20. มะเร็งและโรคเกี่ยวข้องอื่น ๆ
วิธีการเพาะต้นอ่อนข้าวสาลี
1. แช่เมล็ดข้าวสาลี 1 กำมือในน้ำประมาณ 2 วัน โดยใส่น้ำท่วมเมล็ดข้าวสาลี จากนั้นเปลี่ยนน้ำเช้า - เย็น วันที่ 3 แช่น้ำระดับพอเปียกเมล็ดข้าว แต่ไม่ให้ท่วมเมล็ดข้าว จนเมล็ดข้าวเริ่มมีรากเล็ก ๆ งอกออกมา เทน้ำออก นำเมล็ดข้าวสาลีไปปลูก
2. นำกระบะมีรูใส่ดินปลูกต้นไม้หรือใช้ตะกร้าตาถี่ใส่เมล็ดข้าวสาลีงอกลงไป เทดินทับลงบาง ๆ รดน้ำเช้า- เย็นประมาณ 7วัน เมื่อต้นข้าวสาลีงอกประมาณ 7 – 8 เซนติเมตร จึงใช้กรรไกรตัดแล้วนำมาล้างน้ำสะอาดตามจำนวนที่ต้องการ
3. คั้นต้นอ่อนข้าวสาลีในเครื่องแยกกาก ดื่มสด ๆ หรือจะผสมน้ำเจือจางก็ได้
แหล่งที่มา
กนกกาญจน์ เอี่ยมสะอาด. (2566, ตุลาคม). ดื่มต้นอ่อนข้าวสาลีดีอย่างไร. ชีวจิต, 24(586), 43-45.