
กรดอะมิโนฮิสทิดีน (Histidine) เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็น (Essential Amino Acid) โดยเฉพาะสำหรับเด็ก ร่างกายสร้างเองไม่ได้จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร แหล่งอาหารธรรมชาติที่พบกรดอะมิโนฮิสทิดีน
เช่น เนื้อสัตว์ ปลา เนื้อสัตว์ปีก ถั่ว เมล็ดพืช และธัญพืชไม่ขัดสี โดยฮิสทิดีนเป็นสารสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง จำเป็นต่อการดูดซึมธาตุเหล็ก การสร้าง Superoxide Dismutase (SOD) ซึ่งเป็น
สารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิผลมากที่สุดในร่างกาย รวมทั้งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนและเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนต่าง ๆ ในร่างกาย
ประโยชน์ของกรดอะมิโนฮีสทิดีน
1. การเจริญเติบโตของวัยเด็ก
ฮิสทิดีนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนและเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนต่าง ๆ ในร่างกาย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตของวัยเด็ก และเสริมสร้างการทำงานระบบประสาทให้มีพัฒนาการที่ดีสมวัย
2. การผลิตฮีสตามีน
ฮิสทิดีนทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นของฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันและปฏิกิริยาการแพ้ การควบคุมกรดในกระเพาะอาหาร วงจรการนอนหลับ และการทำงานทางเพศ
3. การซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
ฮิสทิดีนมีส่วนเกี่ยวข้องในการซ่อมแซมและบำรุงรักษาเนื้อเยื่อในร่างกาย จำเป็นสำหรับการสมานแผลและความสมบูรณ์ของเนื้อเยื่อโดยรวม
4. การสังเคราะห์ไนอาซิน (วิตามินบี 3)
ฮิสทิดีนใช้ในการสังเคราะห์ไนอาซิน (วิตามินบี 3) ในร่างกาย ซึ่งจำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญต่าง ๆ ช่วยรักษาสุขภาพผิวหนัง เส้นประสาท และระบบย่อยอาหาร
5. ช่วยการทำงานของสมอง
ฮิสทิดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ปลอกไมอีลิน (Myelin Sheath) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มของเซลล์ประสาทที่คอยป้องกันเซลล์ประสาททำงานได้อย่างเป็นปกติ และช่วยให้การส่งผ่านและการรับรู้ของระบบประสาทดีขึ้นโดยเฉพาะในอวัยวะรับเสียง นอกจากนี้แอล-ฮิสทิดีน (L-Histidine) ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ “สารคาร์โนซีน” ที่มีความสำคัญต่อระบบประสาท ช่วยควบคุมสารสื่อประสาทให้ทำงานดีขึ้น เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และส่งเสริมความจำ ช่วยเพิ่มคลื่นสมองในรูปแบบอัลฟา (Alpha-wave) ส่งผลช่วยลดความวิตกกังวล เพิ่มความสงบ มีสมาธิ และทำให้สมองทำงานได้รวดเร็วขึ้น
6. ต้านอนุมูลอิสระ
ฮิสทิดีนมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยปกป้องเซลล์จากความเครียด ปฏิกิริยาออกซิเดชันและความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ
7. ส่งเสริมการสร้างเม็ดเลือดแดง
การขาดกรดอะมิโนฮิสทิดีน อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคไต หรือ ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น
กรดอะมิโนฮิสทิดีนมีความสำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย การปรับพฤติกรรมรับประทานอาหาร หรือผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs อาจได้รับฮิสทิดีนไม่เพียงพอต่อความต้องการร่างกาย ดังนั้นการรับประทานกรดอะมิโนในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในปัจจุบัน
แหล่งข้อมูล
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2567). ฮีสทิดีน. สืบค้นจาก
https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1201/histidine-ฮีสทิดีน