
1. โรคกระดูกพรุน
การขาดวิตามินดีทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) และ โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ในผู้ใหญ่ โดยพบว่าผู้สูงอายุที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีระดับวิตามินดี ต่ำกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคกระดูกพรุน
2. ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)
การที่วิตามินดีต่ำจะทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)
3. โรคหัวใจและความดัน
กลุ่มผู้ที่มีความดันโลหิตสูง และผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำกว่า 15 ng/ml จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจเป็น 2 เท่า
4. การเจริญเติบโตในเด็ก
การขาดวิตามินดีจะส่งผลให้รูปร่างไม่สมประกอบ น้ำหนักลด ฟันผุ เติบโตช้า กระดูกสันหลังโก่ง ข้อมือ เข่า และกระดูกข้อเท้าโต ความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ลดน้อยลง
5. โรคมะเร็ง
วิตามินดีมีบทบาทในการควบคุมการเจริญของเซลล์มะเร็ง โดยพบว่า ระดับวิตามินดีสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ (colorectal carcinoma) มะเร็งเต้านม (breast cancer) มะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate cancer) และมะเร็งรังไข่ (ovarian cancer)
6. โรคซึมเศร้า
ผู้ที่ขาดวิตามินดีจะมีภาวะซึมเศร้า เครียดและนอนไม่หลับ ส่งผลให้ร่างกายมีความอ่อนเพลียเมื่อยล้า
7. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2
การขาดวิตามินดีจะส่งผลต่อกระดูกและมีภูมิคุ้มกันต่ำ เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 มากกว่าคนทั่วไป
ปัจจุบัน “การตรวจระดับวิตามินดีในเลือด” จึงมีประโยชน์อย่างมากในการวินิจฉัยและตรวจติดตามผู้ป่วยหรือผู้ที่มีพยาธิสภาพต่าง ๆ เช่น ผู้ที่มีระดับวิตามินดีในเลือดน้อย ผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคกระดูกอ่อนและโรคกระดูกพรุน เป็นต้น
การแบ่งสภาวะวิตามินดี ตามระดับความเข้มข้นของวิตามินดีในกระแสเลือด
1. ระดับ 25-OH-Vitamin D2/D3 ที่บ่งบอกว่าขาดวิตามินดีคือ น้อยกว่า 20 ng/ml
2. ไม่แนะนำให้คัดกรองระดับ 25-OH-Vitamin D2/D3 ในประชาชนทั่วไป แต่อาจพิจารณาในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงบางกลุ่ม เช่น ในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
3. เพื่อป้องกันการขาดวิตามินดี ผู้ใหญ่ที่อายุน้อยกว่า 70 ปี ต้องการวิตามินดีอย่างน้อย 600 ยูนิตต่อวัน และผู้สูงอายุต้องการอย่างน้อย 800 ยูนิตต่อวัน