
เบาหวานเป็นโรค NCDs ที่พบในคนไทยมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรและมีอัตราการป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี การป่วยเป็นโรคเบาหวานในอัตราที่สูงขึ้น มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันและการรับประทานที่ผิดหลักธรรมชาติ โดยทั่วไปหลายคนคงไม่ทราบว่า เราสามารถบำบัดโรคเบาหวานได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก ขอเพียงท่านมีความเข้าใจและลงมือฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง เพียงไม่นานท่านก็อาจหายจากโรคเบาหวานหรือควบคุมโรคเบาหวานได้จนระดับน้ำตาลต่ำกว่า 100 mg% และน้ำตาลสะสมมีค่าต่ำกว่า 6.0
สาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน
ในภาวะปกติของร่างกาย เมื่อรับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หลังจากนั้นร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินชูลินนำพาน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ ส่วนบุคคลที่เป็นโรคเบาหวาน เกิดจากการมีระดับฮอร์โมนอินชูลินในกระแสเลือดไม่เพียงพอที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ อันเกิดจากความผิดปกติหรือความเสื่อมสภาพของตับอ่อน ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่
ประเภทของเบาหวาน แบ่งเป็น 2 ประเภท
ประเภทที่ 1 มักพบตั้งแต่วัยเด็ก เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตับอ่อนของตัวเองจนตับอ่อนเสื่อมสภาพ ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย คนที่เป็นเบาหวานชนิดนี้มักผอม
การบำบัดต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแลด้วยการฉีดอินซูลิน มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดภาวะหมดสติจากน้ำตาลสูง และกรดคีโตน (Ketones) คั่งในเลือด
ประเภทที่ 2 ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เป็นโรคพฤติกรรมจากการรับประทานน้ำตาลและแป้งในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักและเสื่อมสภาพ จนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้พอเพียงในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ในระยะแรกอาจรักษาได้ด้วยการควบคุมอาหาร หรือยาลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่เมื่อเป็นนาน ๆ ในบางรายมีเบต้าเซลล์เสื่อมหน้าที่มากขึ้นทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีอาจจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน
ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานประเภทที่ 2
1. อายุ 35 ปีขึ้นไป
2. โรคอ้วน หรือรอบเอวเกินมาตรฐาน (มากกว่า 90 เซนติเมตรในผู้ชาย และ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง) และมีพ่อแม่พี่น้องเป็นเบาหวาน
3. โรคความดันโลหิตสูง หรือรับประทานยาความดันโลหิตอยู่
4. ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ระดับไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือระดับคอเลสเตอรอล HDL < 35มิลลิกรัม/เดชิลิตร)
5. มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
6. เคยได้รับการตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ เช่น ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 100 - 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือระดับน้ำตาลสะสม 5.7 - 6.4 %
7. โรคหัวใจและหลอดเลือด
น้ำตาลสะสม หรือน้ำตาลเฉลี่ยคืออะไร
น้ำตาลสะสม หรือ น้ำตาลเฉลี่ย หรือฮีโมโกลบินเอวันชี (HbA1C) คือ ค่าที่ช่วยบ่งชี้การควบคุมระดับน้ำตาลในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา และช่วยแพทย์ในการเฝ้าติดตามผู้ป่วยเบาหวานว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพียงใด ควบคู่ไปกับการดูระดับน้ำตาลหลังงดอาหาร 6-8 ชั่วโมง (Fasting plasma glucose; FPG) โดยแนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลสะสมอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
อาการเริ่มแรกของโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานในระยะแรกที่ระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่สูงมากอาการจะไม่เด่นชัด อย่างไรก็ตามอาจไปพบแพทย์ด้วยอาการต่าง ๆ ดังนี้
1. อาการของระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ รับประทานเก่งขึ้น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย ถ้าระดับน้ำตาลสูงนาน ๆ และยังไม่ได้รับการรักษาจะมีน้ำหนักตัวลดลงตามมา
2. อาการของภาวะแทรกช้อนเรื้อรัง เช่น ตามัว ไตวาย ชาปลายมือปลายเท้า โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง
3. อาการของน้ำตาลสูงเฉียบพลัน เช่น อ่อนเพลียมาก คลื่นไส้อาเจียน หายใจหอบเหนื่อย ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ซึมลง หรือหมดสติ
4. อาการหรือโรคที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวาน เช่น แผลเรื้อรังหรือแผลหายช้ากว่าปกติ โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น การติดเชื้อราที่ช่องคลอด การติดเชื้อราที่ผิวหนัง
5. ตรวจพบจากการตรวจเช็คสุขภาพหรือก่อนทำการผ่าตัด
วิธีการบำบัดเบาหวาน
โรคเบาหวานเกิดจากตับอ่อนมีการเสื่อมสภาพจนผลิตฮอร์โมนอินชูลินได้ไม่เพียงพอต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การบำบัดมี 2 วิธีหลัก ๆ คือ
1. การควบคุมอาหารหมู่คาร์โบไฮเดรต
ในการควบคุมอาหารในหมู่คาร์โบไฮเดรต หากท่านมีน้ำหนักตัวเกิน ควรเน้นรับประทานอาหารกลุ่ม “ไขมันต่ำ แป้งต่ำ โปรตีนต่ำ” แต่หากมีน้ำหนักตัวปกติหรือน้ำหนักตัวน้อย ควรเน้นรับประทานอาหารกลุ่ม “ไขมันสูง แป้งต่ำ โปรตีนต่ำ” เพื่อระดับน้ำตาลในเลือดลงมาสู่ระดับปกติ โดยคาร์โบไฮเดรต แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ น้ำตาลและแป้ง มีข้อแนะนำดังนี้
น้ำตาล
เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นทันที หลายร้อย mg% มีผลในการทำให้เกิดความเสื่อมของตับอ่อนอย่างรุนแรง และยังทำให้เกิดความเสื่อมต่อระบบหลอดเลือด ระบบประสาท ทำให้เลือดเป็นกรด ทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำลง ทำให้เกิดโรคแพ้ภูมิตัวเองได้ ดังนั้นเราควรงดรับประทานน้ำตาลเพื่อฟื้นฟูตับอ่อนและอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย โดยสามารถแยกอาหารและเครื่องดื่มน้ำตาลสูงมากที่ควร “งดรับประทาน” มีดังนี้
1) น้ำตาลจากโรงงาน ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลหลากหลายชนิด ทั้งน้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลปี๊บ รวมถึงน้ำผึ้งแท้
2) ผลไม้สุกและผลไม้หวาน น้ำตาลที่อยู่ในผลไม้สุกและผลไม้หวาน เกิดจากเอนไซม์ในผลไม้ชนิดนั้น เปลี่ยนแป้งที่มีอยู่ให้กลายเป็นน้ำตาล
3) ขนมต่าง ๆ ขนมจะมีส่วนประกอบหลัก คือ แป้งและน้ำตาล ทั้งขนมไทย ขนมต่างประเทศ
4) เครื่องดื่มต่าง ๆ ปัจจุบันเครื่องดื่มมีหลากหลายประเภททั้งบรรจุกล่อง บรรจุขวด หรือซึ่งขายตามร้านค้า ซึ่งมีน้ำตาลอยู่เป็นจำนวนมาก
แป้ง
โมเลกุลของแป้งเกิดจากการรวมตัวกันของโมเลกุลน้ำตาล เมื่อเอนไชม์ในลำไส้เล็กย่อยสลายแป้ง แป้งก็จะกลายเป็นน้ำตาล โดยอาหารที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบจำนวนมากที่ควร “ลดการรับประทาน” มีดังนี้
1) ข้าวทุกชนิด เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวสาลี ข้าวโพด ฯลฯ มีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก
2) ถั่วแกะเมล็ด เมล็ดถั่ว เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง และเมล็ดพืชอื่น มีส่วนประกอบสำคัญเป็นอาหาร 3 หมู่ คือ โปรตีน ไขมัน และแป้ง ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องควบคุมแป้ง จึงต้องนับรวมปริมาณถั่วเป็นแป้งชนิดหนึ่ง
3) ผลไม่ไม่หวาน เช่น ฝรั่ง ชมพู่ พุทรา แอปเปิล มะม่วงดิบ กลัวยดิบ ล้วนมีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก
4) หัวและผลเนื้อแน่นด้วยแป้ง เช่น เผือก มัน ฟักทอง ล้วนมีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก
5) ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้ง เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยวต่าง ๆ ขนมปัง ซาลาเปา มีแป้งเป็นส่วนประกอบเกือบ 100%
สรุปวิธีควบคุมและบำบัดเบาหวานด้วยการควบคุมอาหารหมู่คาร์โบไฮเดรต คือ
“งดอาหาร ขนม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ”
“ลดอาหาร และผลไม้ที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก”
เราจะลดแป้งลงเหลือเท่าไรจึงจะพอดี ?
การบำบัดเบาหวานด้วยการควบคุมอาหารหมู่คาร์โบไฮเดรต เราจะต้องงดน้ำตาลทุกชนิด และ ลดปริมาณแป้งที่รับประทาน ลดแป้งลงจนระดับน้ำตาลในเลือดลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายดังนี้
ข้อ 1 ท่านจะต้องมีเครื่องตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วเป็นของตัวเอง และฝึกการตรวจจนชำนาญ ซึ่งทำได้ง่ายมาก
ข้อ 2 ท่านต้องเรียนรู้และจดจำอาหารกลุ่มน้ำตาลและกลุ่มแป้งตามกล่าวมาได้อย่างถูกต้อง
ข้อ 3 กรณีท่านใช้ยากินหรือยาฉีดอยู่ให้ใช้ต่อไป กรณีท่านยังไม่เคยใช้ยาใด ๆ ก็ยังไม่ต้องใช้
ข้อ 4 เมื่อท่านเริ่มลงมือปฏิบัติในการงดน้ำตาลและลดแป้งในอาหารลงแล้ว ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะลดลง ท่านจะต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว โดยตรวจ 2 ครั้งต่อวัน ดังนี้
ตรวจก่อนอาหารเช้า
ท่านต้องงดอาหารและเครื่องดื่มหลัง 22.00 น. และตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้า ระดับน้ำตาลที่ถือว่าท่านไม่เป็นเบาหวาน คือ ต่ำกว่า 125 mg% ถ้าระดับน้ำตาลยังเกิน ท่านต้อง “ลดปริมาณแป้งในอาหารมื้อเย็นลงอีก” ลดลงจนกว่าค่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 125 mg%
ตรวจก่อนอาหารเย็น
ท่านต้องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดหลังการรับประทานอาหารกลางวัน ประมาณ 4 ชั่วโมง ซึ่งในระหว่างเวลา 4 ชั่วโมง ท่านจะต้องไม่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มใด ๆ ระดับน้ำตาลในเลือดที่ถือว่าท่านเป็นเบาหวาน คือ น้อยกว่า 125 mg% ถ้าระดับน้ำตาลยังเกิน ท่านต้อง “ลดแป้งในอาหารเช้าและอาหารกลางวันลงอีก”
ในการควบคุมอาหารหมู่คาร์โบไฮเดรต ท่านควรจดบันทึกรายการอาหารทั้ง 3 มื้อไว้ เพื่อศึกษาปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหาร และเปรียบเทียบกับระดับน้ำตาลในเลือดที่ท่านจดบันทึกไว้ ทั้งก่อนอาหารเช้าและก่อนอาหารเย็น “ทำต่อเนื่องทุกวัน ไม่เกิน 15 วัน” ท่านจะเริ่มเชี่ยวชาญในการใช้อาหารระดับน้ำตาลในเลือด
ในระหว่างการควบคุมอาหารหมู่คาร์โบไฮเดรต ระดับน้ำตาลในเลือดของท่านจะลดลงเรื่อย ๆ ท่านต้องปรับลดทั้งยากินและยาฉีดลงให้ระดับน้ำตาลในลือด ทั้ง “ก่อนอาหารเช้าและก่อนอาหารเย็นอยู่ในระดับประมาณ 100mg%” หากควบคุมอาหารที่มีหมู่คาร์โบไฮเดรตได้ชำนาญแล้ว ท่านสามารถปรับลดยาเบาหวานได้ด้วยตัวเอง
ในกรณีที่ค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากกว่า 70 mg% ท่านจะมีอาการระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น หิว หวิว ใจสั่น จะเป็นลม เหงื่อออก การแก้ไขคือ “รับประทานน้ำตาลหรือผลไม้หวาน ๆ จำนวนเล็กน้อย” ระดับน้ำตาลในเลือดจะกลับขึ้นมา อาการต่าง ๆ ก็จะหายไป และ “เพิ่มอาหารที่มีแป้งในมื้อต่อไป รวมทั้งลดยากินหรือยาฉีดลง”
ปัจจุบันนี้ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย กระทำโดยแพทย์เป็นผู้ประเมินจากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้าของผู้ป่วย เพียงครั้งเดียวในรอบหนึ่งเดือนหรือสองเดือน โดยผู้ป่วยไม่มีความรู้ในการควบคุมอาหารหมู่คาร์โบไฮเดรต ยังมีการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยเบาหวาน หันมาศึกษาหาความรู้ในการควบคุมโรคเบาหวานด้วยตนเองตามวิธีการที่แนะนำ ผู้ป่วยจำนวนมากจะหยุดการใช้ยาลงได้
หลักในการบำบัดโรคเบาหวานด้วยการงดน้ำตาลและลดแป้งในอาหาร คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ยิ่งหากออกกำลังกายร่วมด้วย จะมีผลทำให้น้ำหนักส่วนเกินหมดไป และระดับน้ำตาลในเลือดก็จะลดลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการบำบัดเบาหวานที่ได้ผลดีที่สุดอีกประการหนึ่ง
2. การใช้สมุนไพรบำบัดโรคเบาหวานและใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร่วมบำบัด
ในกรณีที่ตับอ่อนของผู้ป่วยมีการเสื่อมสภาพอย่างมาก ถึงแม้จะลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตลงจนถึงที่สุด และออกกำลังกายร่วมด้วยอย่างเต็มที่แล้ว แต่ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเข้าและก่อนอาหารเย็นก็ยังสูงเกินกว่า 125 mg% ทางเลือกต่อมาคือ การใช้สมุนไพรในการลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งการป้องกันและบำบัดผลข้างเคียงจากโรคเบาหวาน เช่น หลอดเลือดฝอยแข็งตัว ปริแตก ตีบแคบ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ตาเสื่อม ไตเสื่อม สมองขาดเลือด เป็นแผลแล้วหายยาก เส้นประสาทเสื่อมจากน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดอาการซาปลายมือ ปลายเท้า ร่างกายอ่อนแอ ขาดวิตามินหลายชนิด ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เจ็บป่วยง่าย ซึ่งส่วนประกอบควรเป็นพืชที่เป็นอาหารที่เราเคยรับประทาน เพื่อความมั่นใจว่าการรับประทานต่อเนื่องจะไม่เกิดผลข้างเคียงใด ๆ อาทิเช่น
1) พืชสมุนไพร
พืชสมุนไพร เช่น ผักเชียงดา มะระขึ้นก อบเชย หม่อน และงาดำ มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและ มีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งฟื้นฟูสภาพการทำงานและป้องกันการเสื่อมของไต โดยไม่เกิดผลข้างเคียงต่อตับและไต
2) วิตามินซี
การรับประทานวิตามินซีสกัดจากธรรมชาติ ช่วยให้ผนังหลอดเลือดฝ่อยเหนียวและยืดหยุ่น ป้องกันการปริแตก ช่วยให้ความดันโลหิตลดลง และป้องกันการขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะ
3) ไขมันดี
การเพิ่มไขมันดี ลดไขมันร้าย และทำให้หัวใจแข็งแรงจะช่วยให้สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงปลายมือปลายเท้าที่ชา เพิ่มเลือดไปเลี้ยงตา-ไต-หัวใจ-สมอง ลดการอักเสบของหลอดเลือด และละลายไขมันที่เกาะหลอดเลือด โดยเมื่อใช้ร่วมกับวิตามินซีอย่างต่อเนื่องจะมีผลช่วยลดความดันโลหิต
4) วิตามินและแร่ธาตุ
เมื่อป่วยเป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานาน ร่างกายจะเสื่อมโทรมลงในทุกอวัยวะ รวมทั้งขาดวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด จึงควรเสริมด้วยวิตามินทุกชนิดในระดับสูง
จะเห็นได้ว่าการบำบัดเบาหวานมีหลักการสำคัญคือ การควบคุมอาหารหมู่คาร์โบไฮเดรต รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร่วมบำบัดเบาหวาน ควบคู่กับออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำสำเร็จได้หรือไม่ รอเพียงการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังของท่านเท่านั้นเอง