
อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ ไข่ นม เห็ด ถั่วและธัญพืชต่าง ๆ มีโปรตีนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป โปรตีนเป็นสารอาหารที่ย่อยยากและต้องใช้พลังงานมากเพื่อย่อยโปรตีนให้แตกออกเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการใช้ 20 ชนิด การรับประทานโปรตีนจากอาหารชนิดใด ชนิดหนึ่งมักมีกรดอะมิโนไม่ครบ 20 ชนิด เราจึงจำเป็นต้องรับประทานโปรตีนจากอาหารอย่างหลากหลายเพื่อให้ได้รับกรดอะมิโนครบ 20 ชนิด และต้องรับประทานปริมาณมากจึงจะเพียงพอ เมื่อพยายามเสริมโปรตีนหรือรับประทานมากเกินไป ก็เกิดปัญหาย่อยไม่ทันและมีของเสียเกิดขึ้นจำนวนมากในร่างกาย เกิดสารพิษ และสารก่อ “มะเร็ง” นอกจากนี้โปรตีนเมื่อย่อยสลายในร่างกายจะเกิดสารแอมโมเนียขึ้น ซึ่งตับจะเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นยูเรียแล้วขับออกทางปัสสาวะ ทำให้ไตทำงานหนักอันเป็นสาเหตุสำคัญของ “โรคไตเสื่อม”
ทางออกที่ดีมากและปลอดภัยต่อผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs ได้แก่ มะเร็ง ไตเสื่อม เบาหวาน ภูมิแพ้ แพ้ภูมิตัวเอง โรคไขมัน โรคอ้วน รวมทั้งผู้ที่ต้องการเสริมโปรตีนให้กับร่างกายคือ การลดปริมาณโปรตีนจากอาหารลงสู่ระดับที่ปลอดภัย และใช้กรดอะมิโนเข้าไปชดเชยปริมาณโปรตีนจากอาหาร
การสร้างโปรตีนของกรดอะมิโนจะสมบูรณ์ได้ต้องประกอบไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acid) 8 ชนิด และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (Non-Essential Amino Acid) 12 ชนิด อย่างสมดุล ซึ่งกรดอะมิโน แต่ละชนิดมีประโยชน์แตกต่างกันออกไปทั้งในแง่ของการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ฟื้นฟูสุขภาพให้ร่างกายมีพลังในการทำงาน
อะมิโน วิต (Amino Vit) ได้ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงเป็นทางเลือกที่ดีของผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพองค์รวม วัยทารกและเด็กที่ต้องการพัฒนาการร่างกาย สติปัญญาและการเรียนรู้ที่เหมาะสม คนวัยทำงานที่ต้องการพลังงาน ผู้สูงอายุที่ต้องการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs ควบคู่ไปกับแนวทางอื่นๆ รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติ เช่น การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบ 3 ต่ำ คือ “ไขมันต่ำ แป้งต่ำ โปรตีนต่ำ” โดยรับประทานผักมาก มีเส้นใยสูงเหมาะสมกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก การดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ ไตเสื่อม และมะเร็ง หรือการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบ 1 สูง 2 ต่ำ คือ “ไขมันสูง แป้งต่ำ โปรตีนต่ำ” ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก การดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ ไตเสื่อม และมะเร็ง ทั้งนี้การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงจำเป็นต้องเข้าใจประเภทของไขมันดี ไขมันร้าย และต้องจำกัดจำนวนไขมันหากต้องลดน้ำหนักส่วนเกิน
ข้อมูล: นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์